transience

TRANSIENCE

ศิลปิน จิรายุ ตันตระกูล

28 กุมภาพันธ์ – 18 เมษายน พ.ศ. 2564

Jirayu Tantrakul
28 February – 18 April 2021

“…. ไม่ต้องมีคำอธิบายว่ารูปสื่อถึงอะไร เพราะรูปไม่ได้ทำไว้เพื่อให้เข้าใจ แต่มีไว้เพื่อให้รู้สึกถึง ความเข้าใจเป็นเรื่องของตรรกะ ส่วนความรู้สึกเป็นเรื่องของพลังงาน มันคล้ายกับการยืนดูความงามของหมู่เมฆ ไม่จำเป็นต้องถามฟ้าว่า เหตุใดจึงปั้นหมู่เมฆให้เป็นรูปนั้นรูปนี้ ยิ่งตั้งคำถามยิ่งห่างไกลจากการรู้สึกถึง ยิ่งรู้สึกยิ่งห่างจากการตั้งคำถาม ไม่มีสวย ไม่มีว่าไม่สวย มีแต่การยอมรับความเป็นจริงอย่างที่มันเป็น ไม่ใช่อย่างที่เราอยากให้เป็น…”
ถ้อยคำศิลปิน จิรายุ ตันตระกูล
“…. There is no need for explanations as to what the images convey because they were not created to be understood. Instead, they exist to be felt. Understanding is a matter of logic. As for feeling, it is a matter of energy. It is like standing looking at the beauty of the clouds. There is no need to ask the sky why it shaped them into this or that form. The more you question the further away you are from feeling. The more you feel the further away you are from questioning. There is no being beautiful; there is no being not beautiful. There is only accepting reality as it is, not as you want it to be…”.
Words of the artist, Jirayu Tantrakul

งานนามธรรมที่เกิดจากการรวมตัวกันของเนื้อสีและเม็ดทรายจำนวนมหาศาลเคลื่อนตัวเกาะกลุ่มผสานเข้าเป็นเนื้อเดียว ทั้งรุนแรงพุ่งพล่าน คืบคลานเนิบนาบ กระจัดกระจายแตกซ่านบนผืนผ้าใบ อณูของสีและเม็ดทรายเหล่านั้นแทนบันทึกภาวะ ณ ขณะหนึ่งของศิลปินในฐานะมนุษย์ที่กำลังแสวงหาความจริงของชีวิต
ช่วงเวลาคู่ขนานของชีวิตการเป็นนักแสดงตลอดระยะหลายปีที่ผ่านมาของจิรายุ เขาสร้างพื้นที่ลับที่เปรียบเสมือนดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ในพื้นที่แห่งนี้เขาได้บ่มเพาะพลังบวกให้กับจิตใจ ร่างกาย และสติปัญญา ใช้เวลาอยู่กับการทบทวน ไตร่ตรองและบันทึกความคิด ความรู้สึกผ่านตัวอักษรและภาษาภาพ เขาได้ทุ่มเทแสวงหาหนทางแห่งปัญญาเพื่อสร้างภาวะสำนึกรู้ และได้แสดงออกภาวะ ณ ขณะเวลานั้นออกมาเป็นงานศิลปะในรูปแบบนามธรรม Abstract Expressionism ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นรูปแบบที่ศิลปินโต้ตอบได้อย่างอิสระและมีพลังที่สุดในเวลานี้
Abstract Expressionism ได้รับการบัญญัติขึ้นครั้งแรกที่ นิวยอร์ค อเมริกา ในช่วงปี 1940 เป็นแนวทางศิลปะที่ไม่ยึดติดในการแสดงรูปร่าง รูปทรง แต่เน้นการสำแดงอารมณ์อย่างตรงไปตรงมาตามสัญชาตญาณเหนือสิ่งอื่นใด Abstract Expressionism แบ่งเป็น 2 กระบวนการ คือ Action painting ที่เน้นการใช้ร่างกายขับเคลื่อนเป็นกลไกในการ สะบัด สาด ลงบนผืนผ้าใบ ศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น แจคสัน พอลลอค ( 1950 ) ลีเครสเนอร์ ( 1957 ) ถ่ายทอดอารมณ์แรงกระตุ้น ความเป็นจริงของสภาวะขณะนั้นที่ศิลปินรู้สึกได้ดีที่สุด
กระบวนการที่ 2 Color field painting เน้นการเคลื่อนตัวอย่างอิสระของสีในพื้นที่กว้างแนวระนาบ ทิ้งร่องรอยอย่างเป็นธรรมชาติด้วยพลังของมวลสีนั้นๆเอง ศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับโลกเช่น คลิฟฟอร์ต สตีล ( 1948 ) โรเบริ์ต มาเธอร์เวล ( 1961 )

 

Abstract works produced by the amalgamation of pigment and tremendous numbers of grains of sand moving to form masses, blending into single masses, violent and tumultuous, creeping and scattered on the canvases. Those molecules of color and grains of sand stand in for the records of the states at certain times of the artist as a human being in search of the truth of life.
During the parallel time of Jirayu’s life as an actor through the past years, he created a secret space that was like a holy land. In this space, he fostered positive energy for his mind, body and intellect. He spent time retrospecting, contemplating and recording his thoughts and feelings in written and pictorial languages. He industriously sought the path of wisdom to induce the state of awareness and he has expressed the states during that time in works of art in the Abstract Expressionist style, which may be called the style by which the artist can respond most freely and most powerfully at the present time.
“Abstract Expressionism” was first coined in New York, United States of America in 1940. It is a style of art in which principles regarding the display of shapes and forms are not regarded as being necessary while instinctive straightforward manifestation of emotions is given the greatest emphasis above all. There are 2 separate procedures to Abstract Expressionism. One is action painting, which is a kind of painting with emphasis on using the body as a mechanism for movement in shaking, splashing onto the canvasses. Renowned artists like Jackson Pollock (1950) and Lee Krasner (1957) are the best at conveying the emotion, driving force and reality of the states that they felt at certain points in time.
The second procedure, color field painting, is a kind of painting with emphasis on the free movement of colors in wide flat spaces, leaving traces naturally by the power of the masses of those colors. Artists with worldwide fame are Clyfford Still (1948) and Robert Motherwell (1961).

เมื่อได้เห็นผลงานงานนามธรรมในปี 2020 ของศิลปิน จิรายุ ตันตระกูล เหมือนได้เห็นการควบรวม 2 กระบวนการของ Abstract Expressionism เข้าไว้ด้วยกันได้อย่างกลมกลืน งานศิลปะทุกชิ้นนำทางด้วยปรัชญาหลักของการภาวนาปฏิบัติที่ศิลปินปฏิบัติเป็นวัตรเพื่อสำรวจสภาวะจิตใจ พัฒนาตนเอง เมื่อสำนึกรู้เข้าใจความรู้สึกในภาวะขณะนั้นแล้ว ศิลปินจึงพร้อมสร้างงานศิลปะของเขา ปลดปล่อยความรู้สึกนั้นด้วยเทคนิคที่หลากหลาย เช่น การสาดมวลสี ยิงธนูลูกโป่งสี การเขวี้ยงขว้างปา สร้างแรงปะทะฉับพลัน แต่ในขณะเดียวกันในพื้นที่บางส่วนก็ผ่อนคลายด้วยการปล่อยมวลสีและเม็ดทรายนั้นให้เคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติ สร้างองค์ประกอบระหว่างร่องรอยแห่งการปะทะอย่างรุนแรงกับความสงบนิ่งอย่างสมดุล
Seeing the artist Jirayu Tantrakul’s abstract works done in 2020 was like seeing a harmonious combination of the 2 procedures of Abstract Expressionism. Every work was led by the principal philosophical doctrine of meditation, which the artist practiced on principle in order to examine his mental state and improve himself. Once he had become aware of and understood his feelings in the states at certain times, the artist was ready to create his works, releasing the feelings with a variety of techniques, such as splashing masses of color, shooting arrows at balloons containing color and throwing, producing instantaneous force of collision. At the same time, in some areas it is relaxation with letting the masses of color and grains of sand move naturally, creating an element between the traces of violent collision and stillness in a balanced manner.

ศิลปินเคยกล่าวไว้ว่า ในยุคที่โลกพัฒนาวิทยาการทุกสิ่ง แต่ดูเหมือนว่ามนุษย์จะเพิกเฉยต่อการพัฒนาตนเอง การภาวนาทำสมาธิใช้สติพิจารณาเหตุและผลของแรงกระทบที่เกิดขึ้นจากภายนอก เป็นไปเพื่อยอมรับความจริงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทำให้ศิลปินได้มองเห็นปัญหาเพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพชีวิต และงานศิลปะที่เขาสร้างนั้นเป็นดั่งบันทึกเตือนใจที่ล้ำค่าแสดงผลลัพธ์แห่งการปฏิบัตินั้น
จิตรกรรมนามธรรมร่วม 50 ชิ้นที่ศิลปินสร้างคือภาพแทนภาวะขณะของมนุษย์ที่เป็นอนัตตา เป็นบันทึกร่องรอยเชื่อมโยงของจิตสู่ทั่วสรรพางค์ร่างกาย ช่วงเวลา ช่วงชีวิตแต่ละภาวะ นอกจากถ่ายทอดเป็นภาษาภาพ ศิลปินยังจารึกเป็นภาษาเขียนไว้ในชื่องานแต่ละภาพด้วย …เพราะสงบนิ่งความจริงจึงปรากฏ, ยอมรับความธรรมดา, หยาบเข้าใจ ละเอียดรู้สึก เป็นต้น
เกี่ยวกับศิลปิน : จิรายุ ตันตระกูล
The artist has said that in the age when the world is developing all the sciences but humans seem to ignore self-development, meditating, mindfully considering the causes and effects of the impact produced from the outside was for the purpose of accepting the inevitable truth. It enabled him to see the problem and thus improve his life potential, and the artworks he created are like precious memoranda showing the outcomes of the practice.
The abstract paintings numbering almost 50 created by the artist are images representing a human’s transient states, which were without a separate self. They are records of the mind’s traces that were connected to the whole body and the period of time, the period of life of each state. Besides conveying the states in pictorial language, the artist also recorded them in written language in the title of each picture, “With Stillness, the Truth Appears”, “Accepting Ordinariness”, “Callousness Understands; Delicateness Feels”, and so on.
Jirayu Tantrakul

จิรายุ ตันตระกูล เป็นชาวไทยเชื้อสายปาทาน เกิดปี พ.ศ. 2532 เขาเติบโตและใช้ชีวิตมาในครอบครัวใหญ่ที่เต็มไปด้วยญาติพี่น้องหลายคน ครอบครัวใหญ่ที่อบอุ่นทำให้เขาได้ซึมซับและเรียนรู้การเห็นคุณค่าของชีวิตผู้อื่น จิรายุทุ่มเทกับชีวิตการทำงานในทุกด้านอย่างจริงจัง เขาเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เขาฝึกฝนในเส้นทางที่เขารักนั้นเปรียบดังเมล็ดพันธุ์ที่จะงอกงามเบ่งบานได้ในอนาคต งานศิลปะเป็นศาสตร์ที่จิรายุให้ความสำคัญควบคู่กับการภาวนาปฏิบัติธรรม และนอกจากงานจิตรกรรมแล้วเขายังเริ่มเรียนรู้งานประติมากรรม ศิลปะ Interactive Art และตั้งใจเดินหน้าในเส้นทางสายศิลปินอาชีพอย่างจริงจัง

Jirayu Tantrakul is a Pashtun Thai born in 1989. He grew up and lived in a large family with a lot of relatives. With a warm large family, he got to absorb and learn seeing the value of others’ lives. Jirayu is dedicated to every aspect of his work life. He is certain that what he practices in the path that he loves is like the seed that will flourish and flower in the future. Art is a discipline to which Jirayu gives importance side by side with spiritual meditation, and apart from painting, he is beginning to learn sculpture and interactive art and is earnest about seriously going forward in the path of a professional artist.

งานเปิดนิทรรศการ 28 กุมภาพันธ์เวลา 15.00 น.
และผลงานจัดแสดงต่อเนื่องถึง 18 เมษายน พ.ศ. 2564
( ตามวันและและเวลาทำการของ Gallery )
The Exhibition will be open on Sunday, February 28,
3 : 00 PM at Joyman Gallery
and open for viewing until 18 April 2021

Opening Ceremony on 28th Feb 21

 

 

     


Come to visit the exhibition at Joyman Gallery with a car parked at Saksiri (Near Thip Samai Pad Thai Pratu Phee) or public transportations: MRT – Sam Yot station; Khlong Boat (Golden Mount Line) – Phan Fa Lilat pier

More info, please contact:

065-124-1111, 065-124-2222

Instagram: joyman_gallery