The Symphony of Chroma Chiaroscuro
นิทรรศการแสดงเดี่ยวโดย ศิลปิน ธันวา ห้วงสมุทร
20 มิ.ย. – 28 ก.ค. 67 จัดแสดงที่ Joyman Gallery
Solo Exhibition by Artist Thanwa Huangsmut
June 20th to July 28th, 2024 at Joyman Gallery
งานจิตรกรรมสีสันสะพรั่งตระการตาราวกับบทบรรเลงของสัญชาตญาณที่ตื่นตัว ฝีแปรงบนผืนผ้าใบคมชัดคล้ายงานสลักประจักษ์พยานการมีอยู่ของชีวิต ด้วยใจรักและเชิดชูในวิถีธรรมชาติ สตรี สรรพสัตว์ พรรณพฤกษา องค์ประกอบทั้งหมดถูกร้อยเรียงผ่านทักษะศิลปะชั้นเยี่ยม เพื่อยกย่องทะนุถนอมสัมพันธภาพระหว่างชีวิตนั้นให้ถูกจดจำ
ธันวา ห้วงสมุทร แสดงการให้เกียรติต่อเพศหญิงด้วยภาพที่เขาวาด เธอเหล่านั้นเปิดเผยเรือนร่างงดงาม หญิงสาวอยู่ในท่วงท่าที่สบายและสง่างาม ทรงอำนาจแต่ยังคงอ่อนโยน ภาษากายแสดงถึงความมั่นใจ แววตาทะนงตนที่เปล่งประกายตอบสนองความรู้สึกต่อผู้ชมอย่างฉับพลัน
The exhibition showcases vibrant paintings akin to a symphony of the awakening spirits’ compositions. Brushstrokes on canvas sharply depict life’s existence akin to sculpted monuments witnessing the essence of existence. With love and reverence for nature, women, animals, and flora, all elements are arranged meticulously through excellent artistic skills to celebrate the harmony of life.
Thanwa Huangsmut pays homage to femininity through his paintings. These reveal graceful figures, women in comfortable and dignified poses, powerful yet tender. Body language exudes confidence, eyes reflecting instant responses to the viewers.
เหตุใดหญิงสาวจึงเปลือยเปล่าและไร้อาภรณ์ เป็นคำถามที่ศิลปินมักตอบผู้คนด้วยรอยยิ้มว่า เพราะเขารู้สึกถึงความงามเฉพาะตัวทางกายวิภาคของมนุษย์ เป็นเรื่องของความแตกต่างที่เรียนได้ไม่รู้จบ เช่นเดียวกับในยุคเรอเนสซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (c.14 -15) ที่กายวิภาคมนุษย์ถูกเรียนรู้อย่างแพร่หลายผ่านภาพเขียนเปลือยที่เปิดเผยความจริงของร่างกาย ธันวาก็เช่นกันเขาวาดภาพหญิงสาวจากโครงสร้างภายในกาย แล้วจึงแต่งเติมกล้ามเนื้อ สีผิว แสงเงาบนผิวเนื้ออย่างนุ่มนวล เป็นความงามโดยสมบูรณ์ที่ศิลปินพอใจและไม่ต้องการให้อาภรณ์ใดมาบดบัง
ในยุโรปยุคเรอเนสซองส์ยังมีองค์ความรู้ทรงคุณค่าที่เรียกกันว่า ” Chiaroscuro ” หมายความถึง กระบวนการสร้างมวลปริมาตรในงานจิตรกรรมด้วยค่าแสงที่ต่างกันระหว่างความมืดและความสว่าง กระบวนการนี้ถูกนำมาสร้างภาพเขียนผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลทางสุนทรียะระดับโลกข้ามกาลเวลา เช่น The Virgin of the Rocks ( c. 1483-86 ) หรือ Mona Lisa ( c.1503 – 06) โดย เลโอนาร์โด ดา วินชี Leonardo da Vinci และ Girl with a Pearl Earring (1665 ) โดย เวอร์เมียร์ (Vermeer)
และเช่นเดียวกัน ในงานจิตรกรรมชุด ‘ The Symphony of Chroma Chiaroscuro ‘ ธันวาได้เคี่ยวกรำตนเองกับการใช้กระบวนการ Chiaroscuro ในการสร้างผลงานด้วย แต่เขาไม่ได้นำค่าน้ำหนักแสงเงา ความมืด ความสว่างมานำเสนอบริบทของจิตรกรรม ศิลปินเลือกขั้นที่ท้าทายตนเองขึ้นด้วยการใช้ค่าน้ำหนักเฉพาะของเฉดสีมาขับเน้นซึ่งกันและกัน ประกายเจิดจ้าของสีโทนร้อน ความรู้สึกเน้นหนักของสีโทนเย็น อารมณ์ร้อนแรงที่เคียงข้างกับความรู้สึกหม่นเข้มขรึม ค่าน้ำหนักสีที่ตัดกันอย่างกล้าหาญ แต่ไม่ข่มเหงกัน สีสันเหล่านั้นกลับเชิดชูผลักดันให้ต่างคู่สีนั้นโดดเด่นงดงาม ผู้ชมถูกลวงตาและเพลินใจไปกับเฉดสีระยิบระยิบ น้ำหนักของสีที่ลงตัวยังสร้างมวลปริมาตรให้ระนาบบนผ้าใบมีมีติราวกับประติมากรรมนูนต่ำ ความต่างที่ประสานสอดคล้องคล้ายเป็นซิมโฟนีที่คีตกวีแต่งขึ้นอย่างไพเราะมีพลังและภายใต้บรรยากาศโทนสีสมดุล งานจิตรกรรมของธันวายังโดดเด่นเรื่องพื้นผิวสีที่สร้างความรู้สึกสมจริง ไม่ใช่การเกลี่ยไล่น้ำหนักสีอ่อนเข้ม แต่เป็นการซ้อนชั้นของสีหนาบาง เช่นผิวพรรณหญิงสาวที่มีเลือดเนื้อ ผิวหนังของแมวไร้ขน ขนสั้นยาวบนตัวสัตว์ ผิวตะปุ่มตะป่ำของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ การเขียนเส้นสีให้เสมือนเส้นไหมของผ้าทอชั้นดี ผิวลอกกร่อนของเขาสัตว์ที่เป็นเครื่องประดับศรีษะ ความเงาของกระเบื้องเคลือบเนื้อหนา ปีกผีเสื้อบางนุ่ม กลีบบางเบาของดอกไม้ แผ่นหินแกร่ง เนื้อไม้แกะสลัก ความเงาของผิวโลหะ ผ้ากำมะหยี่ หรือ อัญมณีแวววาว
Why do these women appear nude and alluring? Artists often respond to this question with a smile, stating it is because they sense the unique physical beauty of humanity. It is an endless lesson in diversity, reminiscent of the Renaissance or the revival of art and science periods (c.14 -15), where the human form was widely studied through nude drawings and paintings, revealing the truth of the body. Similarly, Thanwa depicts young women from within, adding muscles, skin tones, soft shadows, creating complete beauty that satisfies the artist without the need for clothing.
In Europe during the Renaissance, there was a valuable concept called “Chiaroscuro,” a process of creating volume in paintings through varying light values between darkness and light. This technique was used to create influential paintings of women transcending eras, such as “The Virgin of the Rocks” (c. 1483-86) or “Mona Lisa” (c.1503 – 06) by Leonardo da Vinci and “Girl with a Pearl Earring” (1665) by Vermeer.
Similarly, in the series “The Symphony of Chroma Chiaroscuro,” Thanwa has employed Chiaroscuro techniques in his works. However, he does not present the contrast of light and shadow to contextualize the paintings; instead, he challenges himself by emphasizing the weight of specific color shades, highlighting warm tones’ vibrancy and cool tones’ heavy feel, juxtaposing intense emotions with deep melancholy. The bold contrast of intersecting color weights highlights the beauty of each color pair, captivating viewers with their brilliance. The weight of the colors that settle still creates a volumetric effect on the canvas, resembling low-relief sculpture. The harmoniously coordinated difference is akin to a symphony that a poet composes with profundity, resonating with power.
นอกจากสีที่ให้ความรู้สึกสมจริง ธันวายังสอดแทรกความเหนือจริงไว้ในสีงานจิตรกรรมอย่างเร้าใจ กระตุ้นความรู้สึก เช่น ท้องฟ้าสีเขียวมรกต พฤกษาสีแดงฉาน ห้วงบรรยากาศสีฟ้าอัญมณีและสีม่วงชมพูกลีบดอกกล้วยไม้ สีทองเปล่งสุกและทองคร่ำแบบโบราณ เป็นต้น รายละเอียดมหากาพย์เกินจินตนาการที่รวมตัวกันอย่างมีจังหวะและรุ่มรวยรสนิยม
ธันวา ห้วงสมุทร ในวัย 40 ต้นๆ เขาทำงานศิลปะอย่างมีวินัย จัดเวลาในการทำงานโดยยึดถือปฏิบัติหนักแน่นเป็นสัจจะเดียวกันกับการใช้ชีวิต งานศิลปะคือบันทึกในชีวิตที่ดีที่สุดของเขา เขายังไขว่คว้า ศึกษา เรียนรู้ตลอดเวลา และไม่สร้างทางลัดในการทำงาน ศิลปินเริ่มต้นงานแต่ละชิ้นด้วยภาพร่างลายเส้นมือบนกระดาษ ลงน้ำหนักหาความลงตัว แล้วจึงลงสีชั้นต้นสร้างค่าน้ำหนักบนเฟรมอย่างแน่ใจอีกครั้ง จากนั้นกระบวนการลงสีจึงเริ่มขึ้นได้ งานศิลปะของเขาถูกสร้างขึ้นอย่างมีสมาธิสูงเเละการวางแผนที่รอบคอบ
” …ผมไม่เคยหยุดวาดรูป เพราะผมทำมันด้วยความรัก เวลาเราได้ทำในสิ่งที่เรารัก เราก็มีความสุขและทำสิ่งนั้นได้ตลอด … “
ถ้อยคำศิลปิน ธันวา ห้วงสมุทร
Under a balanced color tone atmosphere, Thanwa’s paintings stand out with lifelike surface textures, achieved not through blending light and dark colors but through thick layers of color. For instance, the skin texture of women with flesh tones, the smooth fur of hairless cats, short and long fur on animals, the rugged skin of amphibious animals. The painting of color lines to resemble the fine threads of high-quality fabric, the weathered skin of ornamental animal heads, the shadows of thick glazed tiles, the soft wings of butterflies, the delicate petals of flowers, the rugged slabs of stone, the carved wood texture, the polish of metal, the shimmering fabric, or the lustrous jewel. Besides the colors that evoke a sense of realism, Thanwa also interjects a transcendent quality into the colors of his paintings with joy, stirring emotions, for example, the emerald green sky, the crimson hues of flora, the iridescent blue atmosphere, and the pinkish-purple hues of orchid petals, gleaming gold, and antique bronze colors, and more. These details go beyond imagination, merging rhythmically and luxuriously to appeal to the senses.
In his early forties, Thanwa creates his art with discipline, allocating time for his artwork as rigorously as he does for life. Art is a record of his best life experiences. He constantly explores, learns, never takes shortcuts in his work. Each piece begins with hand-drawn sketches on paper, refining them to ensure they are well-balanced before adding colors with certainty. Then, the painting process begins. His artwork is created with high concentration and meticulous planning.
“…I have never stopped painting because I do it with love. When we do thing that we love, we are happy and can do it all the time…”
– Thanwa Huangsmut, Artist