Gelo web

The Space that Makes Us Human

The Space that Makes Us Human

Solo exhibition by Gelo Montiero

 

”ผมอยากจะเล่าเรื่องที่ไร้ถ้อยคำ บางครั้งความเงียบก็ให้ … มากกว่าคำพูด

แรงบันดาลใจมากมายจากประสบการณ์ ความฝัน และอารมณ์ ผมได้เปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นให้กลายเป็นทัศนกวีภาพศิลปะ งานศิลปะของผมได้สำรวจถึงความงดงามของการมีสติอยู่กับปัจจุบันและการตระหนักรู้ในตนเอง ผลงานของผมเป็นการสะท้อนชีวิตประจำวัน การใคร่ครวญมองลึกเข้าไปภายใน ด้วยธรรมชาติที่เป็นคนเงียบขรึม ผมมักวาดภาพคนปกปิดด้วยผ้าคลุมผืนใหญ่ ซึ่งสื่อถึงพื้นที่ปลอดภัยหรืออารมณ์ที่ถูกซ่อนอยู่ มงกุฎก็มักปรากฏในงานเช่นกัน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพลังของการตระหนักรู้ หรือการมีสติอยู่กับปัจจุบัน งานแต่ละชิ้นมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมตีความและใคร่ครวญ เฉกเช่นการทำสมาธิ และนั่นก็เป็นที่มาของการที่ผมมักวาดพื้นหลังสีดำเพื่อสร้างบรรยากาศให้เหมือนห้วงของการทำสมาธิ“

ศิลปิน Gelo Montiero

 

”I want to tell a story but no words. Sometimes silence is more … than talking

I draw a lot of my inspiration from my own experiences, dreams and emotions turn them into a visual poetry. My art explores the beauty of being present and self aware. My work is a reflection of my daily life, my introspective and reserved nature. I often paint human figures draped in cloth, symbolising safe space or hidden emotions. Crowns also appear in my art representing power, self-awareness, or a sense of being present. Each piece is meant to encourage viewers to interpret and reflect, much like meditation which is why I often use black background to evoke a meditative atmosphere.”

Gelo Montiero

 

ในผลงานชุด The Space that Makes Us Human ศิลปิน Gelo ให้ความสำคัญต่อพื้นที่ที่สร้างให้เราเป็นมนุษย์นั่นก็คือ พื้นที่ว่างในการรู้จักเข้าใจตนเอง ตระหนักรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้อย่างแจ่มชัด โดยการมีสติอยู่กับปัจจุบันและมองย้อนสำรวจลึกเข้าไปภายใน เขาแสดงทัศนะที่มีต่อชีวิต ธรรมชาติของมนุษย์และโลกผ่านงานจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ ภาพวาดคนในอิริยาบถต่าง ๆ ถูกปกคลุมด้วยผ้าขาวผืนใหญ่ บนพื้นหลังสีดำ แสงเงาที่ไล่ค่าน้ำหนักสว่างสู่เงามืดได้อย่างละเมียดละไม ความเรียบง่ายจากการตัดรายละเอียดออกให้เหลือน้อยที่สุด แม้แต่สีสันที่เป็น Earth tone ก็ได้ลดทอนจนเกือบจะเป็นสีเอกรงค์ (Monochrome) โดยมุ่งเน้นแต่เส้นสีรูปทรงที่สำคัญเท่านั้นเพื่อสื่อถึงสิ่งที่เป็นสาระแก่นสารนั่นก็คือ การตระหนักรู้ภายในตน

 

In the series of works titled The Space that Makes Us Human, the artist Gelo emphasises the spaces that shape us as humans, specifically the space within to understand oneself and to be aware of what happens around us with clarity. This is achieved through being present and self realisation. He reflects on life, the nature of humanity, and the world through oil paintings on canvas. The figures in various postures are covered by a large white draped cloth against a black background, with light and shadow delicately transitioning between bright and dark. The simplicity from minimizing details is evident, using Earth tones reduced almost to monochrome, focusing only on essential outlines and shapes to express the essence of self-awareness.

 

Gelo ได้รับแรงบันดาลใจในเนื้อหาเรื่องการตระหนักรู้ถึงปัจจุบันและการสำรวจลึกเข้าไปในตนเองจากหนังสือเรื่อง The Power of Now และเขายังหมั่นฝึกฝนปฎิบัติการมีสติในปัจจุบันอีกด้วย ในเรื่องของรูปแบบผลงาน Gelo ก่อนหน้าจะมาเป็นศิลปินอาชีพ เขาทำงานเป็นผู้กำกับภาพยนตร์และวิดีโออยู่หลายปี ซึ่งทักษะประสบการณ์เหล่านั้นก็ได้ส่งผลให้กับการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมทั้งการจัดฉาก จัดท่าทางตัวละครในแบบ Cinematic  การจัดไฟสร้างแสงเงาให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกดราม่าเข้มข้น  หรือการจัดองค์ประกอบศิลป์ต่าง ๆ นอกจากนั้น เขายังได้ศึกษาวิธีการให้แสงเงาบนภาพจิตรกรรมที่เรียกว่า Chiaroscuro โดยจัดแสงให้ส่องสว่างบนตัวละครหลักแต่ฉากหลังอยู่ในเงามืด ซึ่งศิลปินระดับโลกอย่าง Caravaggio ใช้เพื่อขับเน้นอารมณ์ความรู้สึกในภาพนั้น นำเอามาประยุกต์ใช้จนกลายเป็นเอกลักษณ์ในงานของเขาเอง 

 

Gelo draws inspiration on the theme of self awareness and being present from the book “The Power of Now” and he also continuously practises mindfulness. Regarding his artistic style, before he became a full time artist, he was a filmmaker for many years. This experience greatly helped his practice because he was able to apply what I learned from filmmaking to my current painting, such as staging, character poses in a cinematic way, lighting to create emotionally intense drama, and various artistic compositions. He has also studied the technique of contrast; light and shadow called Chiaroscuro, where the main character is illuminated against a dark background, a technique used by the world-renowned artist Caravaggio to emphasise dramatic scenes in his works, which he has adapted into his own unique style.

 

ภาษาภาพที่เรียบง่ายของศิลปินใช้เป็นตัวแทนเพื่อสื่อถึงความสงบเงียบ(silence) และทัศนะของเขาที่ว่า “ผมอยากจะเล่าเรื่องที่ไร้ถ้อยคำ บางครั้งความเงียบก็ให้ … มากกว่าคำพูด”  โดยการใช้สัญญะต่าง ๆ ที่มิได้ให้ความหมายโจ่งแจ้งหรือจำกัดตายตัว แต่ให้ผู้ชมได้ใช้ประสบการณ์ตนเองตีความเพื่อเกิดการรับรู้ใหม่ ๆ เฉพาะตน ทำให้เขามักใช้รูปร่าง ภาษาท่าทางหรือสัญลักษณ์บางอย่างมาสื่อเป็นนัยยะ ยกตัวอย่างเช่น เงาตกทอดที่ปรากฏในผลงานชื่อ “Reflecting through Shadow” ที่แสดงถึงการตระหนักรู้ เงาของรูปคนที่ตกกระทบลงบนผ้า และการได้มองเห็นเงาของตนเองคล้ายกับเป็นกระจกสะท้อน ช่วยขับเน้นถึงการอยู่อย่างสันโดษได้เป็นอย่างดี ส่วนลักษณะการพิงกันของคนสองคนในผลงานชื่อ “Shadow of Support”และ “Close Connection” เป็นนัยยะว่าในบางครั้ง เราจำเป็นต้องมีบางสิ่งให้พึ่งพา คล้ายกับว่าบางคนช่วยให้เราเกิดความตระหนักรู้ได้ว่าเราไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวและตระหนักถึงการมีตัวเราอยู่ในปัจจุบัน การพึ่งพิงบางทีอาจไม่ใช่เพียงบุคคลแต่อาจเป็นบางสิ่งเช่น ความทรงจำ เป็นต้น อีกทั้ง ผืนผ้าที่กางกั้นซึ่งปรากฏในผลงานชื่อ “Silhouette of Silence” เป็นนัยถึงเครื่องกีดขวางหรือประตูกั้นที่คนเราสร้างขึ้นมาเองและมันกั้นระหว่างตัวเราภายในกับโลกข้างนอก สื่อถึงความสำคัญของการเดินทางสำรวจภายในตนเอง มันเป็นประตูกั้นขวางที่ไร้ที่มา นอกจากนั้น ท่วงท่าการแง้มผ้าและมองลึกเข้าไป ในผลงานชื่อ “Discover” สื่อถึงการค้นพบ การเปิดเผยบางอย่างที่ว่าบางคนได้ตระหนักรู้และอยู่กับปัจจุบัน ทำให้ได้พบบางสิ่ง และค้นพบตนเอง เมื่อได้มองลึกเข้าไปภายใน 

 

The artist’s simple visual language serves as a representation of silence and his viewpoint that “I want to tell a story but no words; sometimes silence gives … more than words.” He employs various symbols that do not provide overt or fixed meanings but allow viewers to interpret their own experiences to gain new understandings. Thus, he often uses figures, body language, or certain symbols to convey implications. For instance, the shadow depicted in the work titled “Reflecting through Shadow” represents realisation; the shadow of a figure cast onto the cloth and reflecting one’s own shadow is akin to a mirror, highlighting the essence of solitude. Similarly, the posture of two people leaning against each other in the works “Shadow of Support” and “Close Connection” signifies that sometimes we need something to depend on, someone who makes us realise that we are not alone and we are here in the present. Dependency may not only refer to a person but could also be something like memories. Additionally, the fabric barrier in the work titled “Silhouette of Silence” symbolises unknown barriers we create between our inner selves and outside world, realisation and conveying the importance of inward journey. Furthermore, the act of parting draped cloth and looking deep inside as shown in the work titled “Discover” conveys discovery and revelation, suggesting that some individuals gain self awareness and being in the present, thus they will discover something by themselves when looking within.

 

นิทรรศการครั้งนี้จัดแสดงผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบและวิดีโอสั้นจำนวนกว่าสิบชิ้น โดยมีการพัฒนาแตกต่างไปจากผลงานชุดก่อนหน้านี้ซึ่งเขามักเล่าเรื่องเกี่ยวกับการตระหนักรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ แต่ในครั้งนี้ ผลงานค่อนข้างเชื่อมโยงกับตัวศิลปินมากขึ้น เพื่อเป็นการแนะนำตัวเองและบอกเล่าว่าศิลปินคิดอย่างไร ทำอย่างไรในวิถีทางเฉพาะตน อย่างไรก็ตาม ประเด็นหลักของผลงานทั้งหมดในนิทรรศการ The Space that Makes Us Human ศิลปินมิได้มีจุดประสงค์สื่อถึงตนเองโดยเฉพาะ แต่กลับมุ่งหมายถึงผู้คนทั้งหลายกับพื้นที่ที่ทำให้คนเราเป็นมนุษย์โดยแท้จริง

 

นิทรรศการเปิดให้เข้าชมระหว่างวันที่ 15 กันยายน ถึง 27 ตุลาคม 2567 บริเวณชั้น 1 ของจอยแมน แกลเลอรี กรุงเทพฯ โดยขอเชิญทุกท่านร่วมงานเปิดนิทรรศการในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน เวลา 17:30 น.เป็นต้นไป 

 

This exhibition showcases more than ten pieces of oil paintings on canvas and a short film, representing a development distinct from previous series where he told the story about how the realisation of something. However, in this instance, the works are more connected to the artist himself as a means of introducing himself and telling how he thinks, how he does in some particular ways . Nevertheless, the main theme of all the works in the exhibition “The Space that Makes Us Human” does not specifically aim to convey his personal story but rather focuses on the collective human experience and the space that truly makes us human.

The exhibition is on view from September 15 – October 27, 2024 on the Ground floor of Joyman Gallery, Bangkok. We would like to invite you to join the opening ceremony ‘The Space that Makes Us Human’, a solo exhibition by Gelo Montiero on September 15, 2024 from 5:30 PM onward.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

____________________________________________

แกลเลอรีเปิดทำการ
อังคาร – อาทิตย์ เวลา 11:00-18:00 น.
ปิดทำการทุกวันจันทร์
Gallery open hours
Tuesday – Sunday from 11:00 am -18:00 pm
(closed on Monday)

สำหรับที่จอดรถวันเปิดงาน
– ที่จอดรถวัดเทพธิดาราม
– ตึกการบินไทยหลานหลวง
– ลานจอดรถ J park เสาชิงช้า
– อาคารรวมทุนไทย (ตรงข้าม mega plaza)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
FB: Joyman Gallery
IG: Joyman_gallery
Line : https://lin.ee/hBKM9TU
Email : manager.joymangallery@gmail.com
Whatsapp : +66651241111
Tel : 065 – 1241111

Gallery opening hours
Tuesday – Sunday from 11:00 a.m. – 18:00 p.m. (closed on Monday)

Parking
– Wat Thepthidaram parking lot
– Thai Airways Larn Luang
– J park Sao Chingcha
– Ruam Thun Thai Building (opposite with mega plaza)

For more info, please check out:
FB: Joyman Gallery
IG: Joyman_gallery
Line : https://lin.ee/hBKM9TU
Email : manager.joymangallery@gmail.com
Whatsapp : +66651241111
Tel : 065 – 1241111