Solo Exhibition by AUNG KYAW HTET
ถิ่นกำเนิดกลางลุ่มน้ำและความศรัทธาในพุทธศาสนา
Aung Kyaw Htet ( อ่อง จวอ เต็ท ) เกิดวันที่ 12 เดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1965 ในประเทศเมียนมาร์ เขาเติบโตและอาศัยอยู่ในเขตอิรวดี พื้นที่แห่งนี้เป็นเขตลุ่มแม่น้ำที่มีความชื้นสูงและมีฝนตกชุกตลอด ชาวบ้านท้องถิ่นจึงต้องพกร่มติดตัวอยู่ตลอดเวลา “ภาพคนถือร่ม” จึงกลายเป็นภาพสะท้อนวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ไปโดยปริยายและได้กลายมาเป็นหนึ่งเอกลักษณ์สำคัญในผลงานจิตรกรรมของศิลปินอีกด้วย
นอกจากภูมิลำเนาที่มีบทบาทต่องานศิลปะของเขา อีกหนึ่งความโดดเด่นที่ทำให้ผลงานของ Aung Kyaw Htet เป็นที่จดจำทั่วโลก คือ ภาพความศรัทธาต่อพุทธศาสนาของผู้คนในอิริยาบถต่างๆ ที่งดงาม โดยมีจุดเริ่มจากวิถีชุมชนของลุ่มแม่น้ำอิรวดีที่เขาอาศัยอยู่ เพราะ “วัด” เป็นหัวใจสำคัญของผู้คนในสังคม ตามประเพณีแต่ดั้งเดิม ครอบครัวจะส่งลูกหลานทั้งหญิงหรือชายที่มีอายุครบ 7 ปี ไปบวชเรียนที่วัด (เสมือนเข้าประถมศึกษา) จนถึงอายุ 20 ปี จึงจะจบเกณฑ์จบการศึกษาและสามารถตัดสินใจสึกลาสิกขาบถออกมาใช้ชีวิตทางโลกได้ (เสมือนจบมัธยม) โดยเณรจะนุ่งห่มจีวรสีขาวหรือสีดินแดง ส่วนเณรี (ตี่ละฉิ่น) จะนุ่งห่มจีวรสีขาวหรือสีขมพู ซึ่งหญิงสาวส่วนใหญ่เมื่อจบการศึกษาแบบภิกษุณีแล้ว จึงมักจะไว้ผมยาวหลังจากลาสิกขา เราจะเห็นได้ว่าสาวพม่าส่วนใหญ่จะเลี้ยงผมให้ยาวตรงอยู่เสมอดังที่ปรากฏในภาพวาดของอาว จวอ ฮเทียะ เช่นกัน
จึงเรียกได้ว่างานจิตรกรรมของศิลปิน อ่าว จวอ ฮเทียะ ผสานรวมวิถีชีวิต ความสัมพันธ์ของผู้คนและความศรัทธาต่อพุทธศาสนาเข้าไว้ด้วยกันอย่างงดงาม ศิลปินมักจับช่วงเวลาประทับใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรเช่น ภาพญาติผู้ใหญ่ไปเยี่ยมเยียนลูกหลานที่ศึกษาเล่าเรียนอาศัยอยู่ในอาราม ภาพกลุ่มชาวบ้านที่กางร่มเดินทางเข้าวัด ภาพเณร-เณรี ซึ่งเป็นกัลยาณมิตรเดินบิณฑบาตท่ามกลางบรรยากาศที่ดูปกคลุมด้วยความชุ่มฉ่ำเสมือนมีละอองหยาดน้ำฝนห้อมล้อมชีวิตเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา
ศิลปินเมียนมาร์ผู้มีตัวตนในหน้าประวัติศาสตร์ศิลปะโลก
ด้วยทักษะชั้นเยี่ยมและเรื่องราวในถิ่นกำเนิดลุ่มแม่น้ำอิรวดี ที่เต็มไปด้วยมนตร์ขลังแห่งศรัทธาทำให้ผลงานศิลปะของ Aung Kyaw Htet เต็มไปด้วยความพิเศษ มีเอกลักษณ์เฉพาะและมีเสน่ห์จับใจ ผลงานของเขาถูกเก็บสะสมในมือนักสะสมทั่วโลก และผลงานบางส่วนยังได้เข้าเป็นผลงานสะสมของ National Museum of Myanmar and the National Art Gallery of Malaysia อีกด้วย
เงาของจิต
ในยุคปัจจุบันที่ศิลปะร่วมสมัยเกิด ขึ้นจากรูปแบบงานหรือวิธีการสร้างสรรค์ที่มากมายจนนับไม่ถ้วน แต่งานศิลปะของ Aung Kyaw Htet ยังคงเป็นวิธีการสร้างจิตรกรรมสีน้ำมันในลักษณะดั้งเดิม เน้นความเหมือนจริง โดยมีลูกเล่นที่ทีแปรงขนาดเล็กและการจับจังหวะองค์ประกอบของแสงและเงา เป็นความงดงามเชิงจิตรกรรมที่แสดงตัวตนชัดเจนในแง่มุมของความรู้สึก ความเชื่อที่หยั่งรากลึกในภูมิภาคเอเชีย
เรื่องราว บรรยากาศการดำเนินชีวิตของผู้คนในงานศิลปะของ Aung Kyaw Htet อบอวลไปด้วยความสุข ความสงบ คล้ายกับเป็นโลกอุดมคติคู่ขนานที่ศิลปินสร้างขึ้น ท่ามกลางโลกแห่งความจริงที่เต็มไปด้วยปัญหาขัดแย้งวุ่นวาย
เงาแห่งจิตถูกตั้งเป็นชื่อนิทรรศการศิลปะในครั้งนี้เพื่อตั้งใจเน้นย้ำถึงมวลความรู้สึกภายใน พลังของความศรัทธากล้าแกร่งที่ศิลปินจับมาแสดงเป็นรูปธรรมชัดเจนผ่านภาพวิถีชีวิตผู้คนที่ฉาบด้วยจังหวะของแสงและเงาซึ่งมีนัยยะพิเศษ แสงที่สาดส่องในรายละเอียด แววตา ผิวพรรณ ขับเน้นประกายแห่งความสุข ความหวังในการใช้ชีวิต และเงามืดที่สร้างความสมบูรณ์และสมดุลในภาพพร้อมทำหน้าที่พรางบางส่วนของงานจิตรกรรมนั้นให้ชวนค้นหา ในมิติที่ซ้อนลึกยิ่งกว่าความงามที่สายตามองเห็น
Mind’s Shadow
by Aung Kyaw Htet
Life that originated in the middle of river basin and grew up among the strong belief in Buddhism appear in Aung Kyaw Htet’s works of art.
Aung Kyaw Htet was born on 12 June 1965 in Myanmar. He grew up and stayed in Irrawaddy district, a river basin where was so humid and had frequent rains, so the local people always carried umbrellas. As such, the artwork depicting “People with Umbrellas” is to reflect the villagers’ way of life. Furthermore, it became the signature of his paintings as well.
Besides the birthplace that effects his art, another significance which resulting him to be known around the world is the image of faith in Buddhism. The paintings present people living around Irrawaddy river in charming postures. As “Temple” is the core of lives in the community, to follow the tradition, families will send their children aged 7 and over to be ordained and study in the temple (i.e. elementary school) until 20 years-old (i.e. end of high school). Subsequently, they will graduate and be able to decide to leave the Buddhist monkhood. The neophyte wears a white or deep red robe, while the nun wears a white or pink rope. Many girls who graduated from the nun tend to grow their hair as we can see in his paintings that Myanmarese women have very straight long hair.
Accordingly, we can describe that Aung Kyaw Htet’s paintings blend the way of life, relationship and belief in Buddhism harmoniously. The artist tend to capture the impression of incidents happening in the daily life; for instance, senior relatives visit their descendants who stay and study at the monastery; the group of villagers raise umbrellas while entering the temple; monks and nuns who are acquaintances, are walking with bowls in the scenery that raindrops seem to cover lives and surrounding area.
Myanmarese artist who is renowned in the art world
With his strong skill and portraying lives around Irrawaddy river basin where is full of faith, they have resulted the art of Aung Kyaw Htet to be collected by international collectors and institutes including Museum of Myanmar, and the National Art Gallery of Malaysia.
Mind’s Shadow
In the world today where contemporary arts are created from varieties of forms and techniques; however, Aung Kyaw Htet still paint his works with traditional oil on canvas and in a realistic style. The artist captures lights and shadows to compose with his unique style of tiny brushstrokes. All of which expresses inner feelings and intense beliefs that have been embedded deeply in Asian region.
The content and atmosphere which resonate the local people’s way of life in his works are covered with happiness and peacefulness as if a parallel world created by the artist in contrast to the real world where is full of conflict and chaos.
“Mind’s Shadow” is named as the exhibition title to emphasize inner states of mind where the power of faith is captured andvisualized with the images of villagers who are cast with lights and shadows to imply significant features. The light shades shine to reveal details, expression of eyes and body skins; to enrich the happiness and hope for living. On the other hand, the shadow is cast to balance and conceal some meanings for inviting audiences to explore the inner world behind the paintings that are beautiful than the eyes can perceive.