เเพทเทิร์นสำหรับลงรูปในหน้าexhibitionเว็บ (1)

“Le Mémento”

Le Mémento

นิทรรศการแสดงเดี่ยว โดย ปฎิพัทธิ์ ชัยวิเทศ

23 มิถุนายน – 28 กรกฎาคม 2024

ณ จอยแมน แกลเลอรี กรุงเทพฯ

 

Solo exhibition by Patipat Chaiwitesh

June 23 – July 28, 2024 at Joyman Gallery

ทอสายใยชีวิต ร้อยเรียงความตาย สู่ลวดลายสุสานบนผืนพรม

“เราอยากพูดถึงเรื่องความตาย เพราะหลุมศพพวกนี้มันไม่ได้ฝังศพคน ๆ เดียว มันเป็นเหมือน Family hall พอใครตายก็จะต้องมาอยู่ตรงนี้ ลูกหลานก็จะมาเจอตรงนี้ เราอยากพูดถึงเรื่องการเดินทางว่ามันเป็นเหมือนทั้งจุดเริ่มต้น และจุดจบในที่เดียวกัน ถึงแม้ว่าเราจะเรียกมันว่าสุสานก็ตาม”

ปฏิพัทธิ์ ชัยวิเทศ 

 

Weaving the threads of life, Connecting death into cemetery patterns on Tapestry Art

“I want to express about death because these graves don’t just bury one person. They are like family halls. When someone dies, they come to rest here, and their descendants will meet here. I want to talk about the journey, which is both the beginning and the end in the same place, even though we call it a cemetery.”

– Patipat Chaiwitesh

    หากพูดคำว่า “สุสาน” ใครหลายคนอาจรู้สึกถึงความหมองหม่น ก่อนที่จะทันได้เห็นแผ่นหินปักลงดิน เหนือร่างไร้ลมหายใจ และห้วงความเงียบที่เดินตามหลังเราในทุกขณะ เมื่อเราก้าวข้ามประตูสุสาน สถานที่นี้ไม่ได้เป็นเพียงที่ปิดฝังผู้เสียชีวิตเท่านั้น แต่ความทรงจำของคนหลายชั่วอายุต่างก็ถูกผนึกไว้ ถักทอกันเป็นสายใยทอดยาวจากรุ่นสู่รุ่น กระทั่งพวกเขากลับกลายมาสู่สถานที่เดียวกันในท้ายที่สุด 

   ณ สุสาน Père-Lachaise ศิลปินปฏิพัทธิ์ได้เก็บความประทับใจที่เขามีต่อพื้นที่นี้ บันทึกเป็นการเดินทางของความทรงจำ เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้แก่การดำเนินชีวิตของคนที่ยังอยู่ ด้วยการวิเคราะห์เส้น สี และรูปทรงที่สะท้อนถึงบริบท สถาปัตยกรรมและการหมุนเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ของสุสานอันมีเอกลักษณ์และเป็นที่เลื่องชื่อในกรุงปารีสแห่งนี้ หลุมฝังศพจำนวนมากเป็นหลุมฝังศพประจำตระกูล ซึ่งพอมีใครเสียชีวิตในตระกูลนั้น ๆ ก็จะมาฝังในที่เดียวกัน จึงถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นสถาปัตยกรรมเสมือนบ้านหลังหนึ่ง ความพิเศษและน่าประทับใจของสุสานแห่งนี้อีกประการ คือ ความเก่าแก่ของสถานที่และความคลาสสิคของลวดลายประเพณีนิยมที่ผสมผสานรูปแบบ

   นีโอไบแซนไทน์, นีโอกอธิค และนีโอคลาสสิค เป็นต้น อีกทั้งขนาด หรือการแบ่งซอยห้องของหลุมศพ ต่างก็เป็นไปตามความมั่งคั่งของแต่ละตระกูล รวมไปถึงประติมากรรมตกแต่งแบบโบสถ์ยุโรป ประตูที่ทำขึ้นคล้ายประตูบ้านของผู้ถูกฝัง ซึ่งผู้มีชื่อเสียงและตำแหน่งทางสังคมสูงในสมัยโบราณมากมายต่างถูกฝังลงในสุสานแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็น Chopin คีตกวีเอกของโลก Oscar Wilde นักเขียนนิยายอันโด่งดัง Delacroix จิตรกรแนวโรแมนติกผู้ยิ่งใหญ่ หรือแม้กระทั่ง Jim Morrison นักร้องนำ The Doors วงร็อคระดับตำนาน เป็นต้น

 

   When we mention the word “Cemetery,” many may feel a sense of gloom before even seeing the tombstones planted in the ground above lifeless bodies and the pervasive silence following us at every step as we cross the cemetery gates. This place is not only for burying the dead but also a journal for the memories of multiple generations, woven together from one to another, eventually converging in the same place.

   At Père-Lachaise Cemetery, artist Patipat captured his impressions of this place, documenting a journey of memories that inspired the lives of those who remain. By analyzing lines, colors, and shapes reflecting the context, architecture, and changing times of this unique and renowned Parisian cemetery, he found that many graves were family graves. When any family members passed away, they were buried here, leading to the architecture of these graves as if they were houses. Another remarkable and impressive aspect of this cemetery is its old age and the classical patterns blending Neo-Byzantine, Neo-Gothic, and Neo-Classical styles. The size or partitioning of the graves reflects each family’s wealth, including European church-like sculptures decorated around the graves and house-like doors for the buried. Numerous famous and high-status person in the history were buried here, such as the great composer Chopin, famous novelist Oscar Wilde, renowned romantic painter Delacroix, and even Jim Morrison, the legendary lead singer of ‘The Doors’.

 

    ศิลปินกลั่นกรองบันทึกแห่งความทรงจำนี้ออกมาเป็นภาษาภาพ ตีความและสังเคราะห์สู่รูปทรงใหม่ในลวดลายร่วมสมัย ผ่านเทคนิคการทอผ้าด้วยมือ จนเกิดเป็นผืนพรมแขวนผนัง หรือ Tapestry งานศิลปะสิ่งทอที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ทว่า ศิลปินได้นำมาพัฒนาต่อยอดด้วยการปรับเทคนิคและวัสดุบางอย่างให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันรวมถึงมุมมองของเขาที่ว่า Textile ไม่ใช่แค่ผ้า แต่คือพื้นผิว เพราะคำว่า Textile กับ Texture ต่างก็มาจากรากศัพท์เดียวกัน นอกจากนี้ เทคนิค และวัสดุที่ศิลปินหยิบมาใช้ยังบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางแรกเริ่มของตัวเขาเอง ตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าศึกษาต่อที่ École Supérieure des Beaux- Arts สาขาวิชา Textile and Tapestry ในประเทศฝรั่งเศส ความสนใจในเรื่องสิ่งทอพาให้เขาสร้างผลงานศิลปะ และ Conceptual Textiles เผยแพร่สู่เวทีระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ 

    นอกเหนือจากความสามารถและทักษะที่สะสมมา ความเป็นศิลปินปฏิพัทธิ์คืออีกหนึ่งสิ่งที่แตกต่างและโดดเด่น ทั้งเทคนิค ลวดลาย และการดึงเอาสิ่งรอบตัวมาแปลงเป็นงานโดยการข้ามไปมาและสอดประสานระหว่างงานไฟน์อาร์ตเชิงคอนเซปชวล งานดีไซน์ และงานคราฟต์ อาทิเช่น เส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องใช้ในครัวเรือน สัตว์สตัฟฟ์ ฯลฯ สำหรับนิทรรศการเดี่ยวของเขาในครั้งนี้ก็เช่นกัน ศิลปินปฏิพัทธ์ถักร้อยลวดลายสุสานผสมเข้ากับงานศิลปะพรมทอมือ ถ่ายทอดผ่านศิลปะแบบจัดวาง (Installation art) ให้ผู้ชมได้รายล้อม สัมผัสใกล้ชิด ประหนึ่งเดินอยู่ในพื้นที่บันทึกความทรงจำกับนิทรรศการ Le Mémento

    ภายในนิทรรศการ นอกจากผลงานศิลปะจัดวางจากพรมทอมือแล้ว ยังมีผลงานชิ้นพิเศษที่เชิญชวนให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการสร้างผลงาน รวมถึง Archives ต่าง ๆ ของศิลปินที่บ่งบอกถึงกระบวนการสร้างงานและการเก็บข้อมูล จึงขอเชิญทุกท่านเข้าชมนิทรรศการ Le Mémento ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน ถึง 28 กรกฎาคม พ.ศ.2567 บริเวณชั้น 1 ของจอยแมน แกลเลอรี กรุงเทพฯ  โดยขอเชิญทุกท่านร่วมงานเปิดนิทรรศการในวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2567 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป โดยมี Mr. Thierry BAYLE (Cultural attaché) ผู้แทนจากสถานทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานในครั้งนี้

   The artist distilled this journal of memory into a visual language, reinterpreting and synthesizing it into new forms in contemporary patterns. Subsequently, they were expressed through hand-weaving techniques, resulting in hanging tapestries, a form of textile art with a very long history. However, the artist has further developed it by adjusting certain techniques and materials to align with the current situation and his perspective that textile is not just fabric but a surface because “textile” and “texture” share the same root. Moreover, the techniques and materials that he used told the story of his early journey when he had studied at École Supérieure des Beaux-Arts, department of Textile and Tapestry in France. His interest in textile art led him to continuously create art and conceptual textiles to exhibit internationally.

   In addition to his accumulated skills and talents, Patipat’s artistry stands out uniquely. His sense of visual, techniques and ability to transform everyday surroundings into art by crossing and integrating conceptual art, design, and craft— applying such as instant noodles, household utensils, fabrics, taxidermy animals, etc.— are evident in this solo exhibition too. Patipat weaves cemetery patterns into hand-woven tapestry art, presented through installation art, allowing viewers to be surrounded and intimately experience it in the “Le Mémento” exhibition as if walking through a place where the journal of memory is written.

   Inside the exhibition, besides the hand-woven tapestry art showing in the form of installation art, there is a special piece that invites viewers to participate; and various archives illustrating the creation process and his research.  “Le Mémento” solo exhibition by Patipat Chaiwitesh is on view from June 23 to July 28, 2024 on the Ground floor of Joyman Gallery, Bangkok. You are cordially invited to join the opening ceremony on Sunday, June 23, 2024, at 5:00 PM onwards, with Mr. Thierry BAYLE (Cultural Attaché), representative of the Embassy of France in Thailand, presiding over the event and deliver the opening remarks.

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
For more info, please check out:
FB: Joyman Gallery
IG: Joyman_gallery
Email : manager.joymangallery@gmail.com
Whatsapp : +66651241111
Tel : 065 – 1241111