land owner

LAND OWNER

𝗟𝗮𝗻𝗱 𝗢𝘄𝗻𝗲𝗿 – เจ้าของที่
โดย ณัฐภัทร ดิสสร
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 – 8 มกราคม 2565
.
Natthapat Dissorn
27 November 2022 – 8 January 2023
ถ้อยคำโดย ศิลปิน ณัฐภัทร ดิสสร
( หนึ่งในผู้อาศัยในที่ดิน ณ ช่วงเวลาปัจจุบัน )
“…เมื่อสมัย 60 ปีที่แล้ว ที่ตรงนี้เคยเป็นป่ามาก่อน เป็นประโยคเริ่มต้นสนทนาทุกครั้งก่อนที่บรรดาลุงป้าน้าอาจะเริ่มเล่าประสบการณ์ของแต่ละคนให้คนรุ่นถัดไปอย่างผมฟัง แรกเริ่มการมาตั้งรกรากในที่แห่งนี้เป็นช่วงเวลาเดียวกันการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 401 เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมการเดินทางระหว่างจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับจังหวัดนครศรีธรรมราช เส้นทางตัดผ่านภูเขาหินปูนและป่าดิบชื้น มีการเกณฑ์คนในพื้นที่และคนต่างถิ่นมาสร้างถนน ค่าจ้างในสมัยนั้นมากพอที่จะทำให้คนหนุ่มหลายคนหวังว่า เงินค่าจ้างจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าที่เป็น แต่กลับมีคนอยู่อีกกลุ่มที่ใช้โอกาสนี้เข้าจับจองพื้นที่เพื่อทำเกษตรกรรม สิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องเจอคือ ต้นไม้ขนาดใหญ่ ไข้ป่า และ สัตว์ร้าย
.
“60 years ago, this place used to be a forest.”
“ It’s the phrase that starts every conversation before the uncles and aunts begin to tell each other’s experiences to the next generation people like me. The first settlement in this place was at the same time of the construction of Highway 401 as the main route connecting the route between Surat Thani and Nakhon Si Thammarat. The path cuts through limestone mountains and rainforest. Local people and foreigners were recruited to build roads. The wages in those days were sufficient to make many young people hope for better lives. But there was another group of people who took this opportunity to occupy the land for farming. What this group of people has to face are big trees, malaria, and animals.
ถนนถูกสร้างไปกับการแผ้วถางป่า ก่อร่างสร้างชุมชมขนานไปกับถนนทางหลวง พื้นที่ป่าดิบชื้นค่อยๆถูกปรับให้เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม ยิ่งลึกเข้าไปในป่า ตาของผมเล่าให้ฟังว่า ไข้ป่าว่าร้ายแล้ว ยังต้องระแวดระวังตัวจากสัตว์นักล่าหลากหลายชนิด ทั้ง เสือโคร่ง เสือดาว และ หมี การทำงานที่นี่ไม่มีการนอนค้างคืน เป็นการทำงานแบบเช้าเย็นกลับ ทำอย่างนี้เป็นเดือนเป็นปี จนมากพอตามความต้องการจึงค่อยสร้างที่พักอาศัยถาวร การใช้ชีวิตในสมัยนั้นลำบากเป็นอย่างมาก การเตรียมอาหารน้ำดื่มเป็นไปอย่างจำกัด และยังต้องระวังคนที่คอยจ้องจะฆ่าเพื่อยึดที่ดิน การเล่าเรื่องเหล่านี้ให้คนรุ่นผมฟัง ซึ่งในตอนนั้นมีอายุประมาณ 7 – 8 ขวบฟัง ก็เพื่อปลูกฝังถึงรากเหง้าของครอบครัวและสร้างความสำคัญและคุณค่าในที่ดินแห่งนี้ให้อยู่คู่ลูกหลานในตระกูลสืบไป
.
Roads were built with the clearing of the forest while constructing a community living parallel to the highway road. The evergreen forest area is gradually being adapted for agriculture as construction has dug deeper into the forest. My grandfather told me that not only malaria is awful, they also have to be on their guard against a variety of predators, including tigers, leopards and bears. Working here means no such thing like sleeping overnight, but having to work in the morning and leave by the evening. This went on for months and years. Until enough to meet the needs, he gradually built a permanent residence. It was extremely difficult to live back then. There is a scarcity of food and water. Be wary of those who want to kill in order to gain possession of the land. The purpose of telling these stories to the likes of my generation, which I was about 7-8 years old at the time, is to instill in the family roots and create the importance and value of this piece of land for the next generation to be with the family’s descendants.
เด็กน้อยอย่างผมในตอนนั้น นั่งฟังเรื่องราวต่างๆมากมาย แต่กลับสนใจเพียงประเด็นเดียว นั่นคือเรื่องของสัตว์ป่า นึกจินตนาการถึงการเผชิญหน้ากับสัตว์นักล่า การล่าเพื่อเอามาทำเป็นอาหาร และ การรุกล้ำของพรานต่างถิ่น ช่วงต้นปี พ.ศ. 2500 ทรัพยากรสัตว์ป่าและพันธ์พืชในประเทศไทยมีอยู่มากมาย รัฐมีแผนพัฒนาประเทศในรูปแบบต่างๆ ทั้งการเปิดสัมปทานป่าไม้ การสร้างถนนสายสำคัญทั่วประเทศ จากสิ่งนี้นำมาสู่การบุกรุกแผ้วถางป่ามากมายอย่างไม่สามารถหยุดยั้งได้ การล่าสัตว์จากพรานเถื่อนก็เป็นอะไรที่หยุดยั้งไม่ได้เช่นกัน ตัวผมที่เกิดในปีพ.ศ. 2531 ประสบการณ์ของเด็กรุ่นนี้แทบนึกไม่ออกเลยว่าป่า จริงๆนั้นเป็นอย่างไร ต้นไม้ขนาดใหญ่ 5 คนโอบ ตามคำบอกเล่าก็ไม่เคยเห็น ยิ่งเรื่องของสัตว์ป่าขนาดใหญ่ด้วยแล้วทำได้แต่นึกภาพจินตนาการอย่างเดียว ที่ดินของครอบครัวส่วนใหญ่ตั้งอยู่กึ่งกลางโดยมีภูเขาหินโอบล้อมพื้นที่ เป็นทิวทัศน์ที่สวยงามอลังการเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีความสมบูรณ์ในดิน น้ำที่มีใช้ในการทำการเกษตรอย่างพอเพียง ทำให้ตัวผมเมื่อโตขึ้นเริ่มตระหนักได้ถึงความสำคัญในการปกป้องรักษาที่ดินทำกินของตนเอง แต่ความทรงจำในวัยเด็กทำให้ผมได้ตระหนักได้ว่า คนในชุมชนแห่งนี้หาใช่พวกแรกที่เคยใช้ประโยชน์และเป็นเจ้าของ…”
.
As a young boy, I sat and listened to stories of this sort but I only chose to focus on one issue ; wild animals. It made me imagine facing predators, hunting for food, and the encroachment of foreign poachers. In the earlier months of 1957, there were many wildlife and plant resources in Thailand as the state had plans to develop the country in various ways. Including the opening of forest concessions, building major roads across the country led to the relentless invasion of many forests and countless huntings by outlawed hunters. As a person born in the year 1988, the experience of my generation on the topic of forests is almost unthinkable. A tree big enough for 5 people wrapped around the trunk in the words of the local people, we had never seen them. The story of large wild animals where one could only wonder and imagine. Most of the family’s land is located in the middle with rocky mountains surrounding the area. It is a very breathtaking and beautiful scenery. There is fertility in the soil and has sufficient water for farming. As I grew older, I began to realize the importance of protecting my own farm land. But childhood memories made me realize that the founding people in this community weren’t the first to ever use and own it.”
นิทรรศการ Land Owner โดยศิลปิน ณัฐภัทร ดิสสร สะท้อนภาพการรุกรานของมนุษย์ที่มีต่อสัตว์ ผ่านการยึดครองที่ดินถิ่นอาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ เข้าจับจองเพื่อการทำมาหากินของชุมชนมนุษย์ โดยส่งผลกระทบให้สัตว์ป่าหลายชนิดต้องสูญพันธุ์หรือถูกไล่ล่าจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ศิลปินสร้างงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ทั้งงานจิตรกรรม งานวาดเส้น งานไม้ประติมากรรมจัดวางในลักษณะของจิ๊กซอว์รูปสัตว์ขนาดใหญ่ ศิลปินค้นคว้าข้อมูลลงพื้นที่ในพื้นที่จริง ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยใช้ระยะเวลาร่วม 2 ปีพร้อมกับการทำไร่เป็นอาชีพควบคู่ด้วย ตลอดระยะเวลาของการใช้ชีวิตในพื้นที่ที่เคยมีเรื่องเล่าของเจ้าของตามธรรมชาติคือสัตว์ป่าหลากหลายสายพันธ์จนในปัจจุบันสัตว์ป่าเหล่านั้นหายากหรือสูญพันธ์สร้างความสะเทือนใจให้ศิลปิน งานศิลปะชุดนี้คือการแสดงความเคารพและเครื่องยืนหยัดถึงการเคยมีชีวิตอยู่และการเป็นเจ้าของที่ตัวจริงของสัตว์ป่าหลายสายพันธุ์
.
Natthapat Dissorn, one of the inhabitants of the land at the present time
The Land Owner exhibition by artist Nattapat Dissorn reflects on human aggression towards animals through the occupation of the natural habitat of the animals and occupying the land for the livelihood of the human community. This is affecting many species of wildlife to extinction or being hunted until the risk of extinction. Natthapat creates a variety of artworks in different mediums such as paintings, line drawings, and wood sculptures arranged in the form of a large animal puzzle. He diligently researched information in Surat Thani province for a period of 2 years, along with farming as a career. Throughout the period of living in an area that used to have stories of its natural owners, there are many species of wild animals until now those wild animals are rare or extinct, causing the artist to be shocked. This collection of artworks pays homage and stands to the existence and true ownership of many species of wild animals.
ผลงานชุด Land Owner จัดแสดงที่ Joyman Gallery ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 ถึง 8 มกราคม 2566 โดยจะมีงานเปิดนิทรรศการอย่างเป็นทางการในวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน เวลา 18.00 น.
.
The Land Owner series will be exhibited at Joyman Gallery from November 27, 2022 to January 8, 2023, with the official opening of the exhibition on Sunday November 27 at 6:00 p.m.