” เป็นไทย ”
ศิลปิน กฤตยา พูลสวัสดิ์
๑๐ ตุลาคม ถึง ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔
” DOMESTICATED ”
Kittaya Poolsawatdi
10 October – 14 November 2021
“ …เหมือนคอกที่มองไม่เห็นมาหลายสิบปี ไม่รู้ว่าใครเป็นคนสร้างไว้และสร้างมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แล้วจะอยู่ไปอีกนานแค่ไหน รู้แค่ว่ามีการรื้อรั้วนี้มาหลายรอบแล้ว และคงจะรื้อต่อไปนั่นแหละ…”
บางส่วนของบทสัมภาษณ์ถึงความหมายของคำว่า เป็นไทย
โดย ศิลปิน กฤตยา พูลสวัสดิ์
โดย ศิลปิน กฤตยา พูลสวัสดิ์
.
“Like livestocks to their cattle fence, we don’t know who built it, when it was created, and how long it will stay. We saw it destroyed and rebuilt many times, and all we know is that the cycle will continue.” a part of the artist interview.
เมื่อคำว่า ” เป็นไทย ” นั้นไม่อาจถูกตีความได้อย่างอิสระ แต่เป็นความหมายหรือข้อปฏิบัติที่ถูกนำไปตีความหมายโดยชี้นำเพื่อการครอบงำทางทัศนคติจากคนบางกลุ่มที่ถือครองอำนาจ คงไม่ต่างอะไรกับระบบการล้อมคอกของปศุสัตว์ ที่สัตว์ไม่ได้ถูกควบคุมด้วยคอกที่ล้อมเท่านั้น แต่เป็นการทำให้เชื่องให้ยินยอมอยู่ในภาวะนั้นอย่างจำนนในที่สุด
.
When being Thai in Thailand cannot be determined by its own individual, the identity itself becomes a tool to dictate. A false pride to its citizens to lull them into obedience. Not unlike livestocks behind a cattle cage. It makes you feel safe. As long as you don’t mind living under the rules of your owner, surrendering your right to be free.
ในบ้านเมืองไทยที่เต็มไปด้วยความโกลาหล คำว่า ” เป็นไทย ” คำนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ซ้ำๆ จนกลายเป็นวาทกรรมอุปถัมภ์ที่ได้รับสิทธิ์คุ้มครองเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองและวัฒนธรรม โดยเลือกนำเสนอจำกัดเพียงความดีงาม ความละเมียด ความประณีต สร้างเป็นรูปแบบเฉพาะตัว บดบังซ่อนเร้นบางสิ่งที่รุงรัง ไม่ชอบมาพากล ฉ้อฉล ผิดแปลก โดยที่การถอดรื้อหรือตั้งคำถามนั้นคือการต่อต้านและถือเป็นความผิด ศิลปินจึงต้องการคลี่คลายมุมมองต่อคำว่า “เป็นไทย” โดยท้าทายและตั้งคำถามกับกรอบแนวคิดแบบอุดมคติดั้งเดิม ซึ่งเสมือนเป็นการทุบทำลายความเชื่อในอดีตของตัวศิลปินเองด้วย
.
Thailand is now in turmoil. And at the center of its conflict, The concept of “Being Thai” is brought up repeatedly. Used by a position of power to rally its patriots to protect their political and cultural advantages. By creating pointless identity taglines like gentleness, or politeness. Saying that we’re all about being nice, like that somehow an ultimate pride of being Thai. In reality, these are meaningless buzzwords, intending to mask our ugly serious unconventional issues. We are under the time that now doubting these slogans is considered an offense to the country, or even treason. Therefore, the artist is determined to unravel the perspective of the concept of this “Thai Spirit”, by challenging and questioning about the traditional concept frame. In hope of releasing himself from this similar dogma that had shackled him in the past.
กฤตยา มักใช้เครื่องมือทางวัฒนธรรมที่ใกล้ชิดกับผู้คนนำเสนอประเด็นทางสังคมที่เต็มไปด้วยความซับซ้อน เนื้อหาที่ซ่อนหลังจิตรกรรมที่งดงามของศิลปินนั้นมักคลุกเคล้าด้วยความหวัง ความฝัน รอยยิ้มและน้ำตาของเพื่อนมนุษย์
.
Kittiya always uses the cultural elements that are close to its people to present the complicated society issues. The hidden contents behind his graceful painting always are a blend of intertwining emotions. Happiness and sadness. Hope and humanity. And sometimes, dreams.
ในนิทรรศการเป็นไทย ( Domesticated ) ครั้งนี้ก็เช่นกัน ศิลปินได้นำเอกลักษณ์เครื่องเคราของ ลิเก มหรสพที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาซ้อนทับนัยยะวิธีการที่ผู้ปกครองนั้นปฏิบัติต่อประชาชน โดยลิเกนั้นมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เป็นเพียงการแสดงหน้าฉากฉาบฉวย เช่น การเมืองไทย ที่เราเองมักได้ยินกันบ่อยครั้งว่า การเมืองเรื่องลิเก
.
In this “Domesticated” exhibition, the artist also brings the identity of “Likay”; a Thai musical folk play with a long history since the Ayutthaya period, to overlap his work with the real world political events. Which is also a frequent comparison, used to ridicule any political circumstance that goes far beyond comedic line. To which Kittiya cleverly uses to subtly reflect what the authority has been doing to its people.
ณ เวทีลิเก มักปรากฏตัวละครซ้ำๆ ในท้องเรื่องที่คล้ายกัน พระเอก นางเอก ตัวร้าย ผู้ครองนคร อำมาตย์ สามัญชน ผู้นำทางความเชื่อ ตัวตลก นักแสดงเหล่านั้นเล่น ร้อง รำ โดยสวมใส่เครื่องแต่งกายอลังการตระการตาขัดกับฉากหลังที่ถูกสร้างขึ้นอย่างเรียบง่าย ฉาบฉวย เสียงร้องลิเกระคนวนไปกับเสียงพูดคุย เสียงหัวเราะ เสียงร้องไห้ของผู้ชม เมื่อรอบการแสดงจบลง ไฟแต่ละดวงดับ นักแสดงถอดเครื่องทรง แต่นั่นก็เป็นเพียงชั่วครู่เท่านั้น อีกไม่นานการแสดงนั้นยังคงวนเปิดรอบการแสดงขึ้นใหม่กับผู้ชมอีกครั้ง วนเวียนซ้ำไปมา
.
On stage, Likay plays almost always use similar characters with similar stories. Goody-two-shoes male protagonist. Damsel-in-distress princess. Cartoonist evil doers. Strangely sympathetic lords and rulers. Common farmers. And mimes. All actors wear overly ornament adorned costumes that contrast with simple and plain backgrounds, to which they play with exaggerated acting. When the show ends, the lights are turned off one by one, and the actors take their costumes off.
“ …เหมือนการแสดงที่ไม่เคยจบลง และจะเปิดรอบวนซ้ำไปอีกนานแค่ไหนไม่รู้ รู้แค่ว่ามีการแสดงลิเกมาหลายรอบแล้ว และคงจะแสดงกันต่อไปนั่นแหละ…”
.
“Only to wear it again, as they will return and continue to perform. Like the show has never ended. Like they don’t know when to stop. We don’t know when they’ll stop. We only know that it’s been performed many times, and it will just keep going…” Kittiya said.
นิทรรศการ ” เป็นไทย ”
จัดแสดงให้เข้าชม ตั้งแต่ ๑๐ ตุลาคม ถึง ๑๔ พฤศจิกายน
ณ ห้องแสดงชั้น ๒ Joyman Gallery
จัดแสดงให้เข้าชม ตั้งแต่ ๑๐ ตุลาคม ถึง ๑๔ พฤศจิกายน
ณ ห้องแสดงชั้น ๒ Joyman Gallery
.
The exhibition is opened
at Joyman Gallery 2nd floor
from 10 October to 14 November 2021